หลักสูตร การบริหารการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ 5 กรกฎาคม 2562

หลักสูตร การบริหารการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ 5 กรกฎาคม 2562

หลักการและเหตุผล

ในโลกการแข่งขันทางอุตสาหกรรมปัจจุบัน องค์กรธุรกิจต่างมุ่งแสวงหาแนวทางการผลิต, การบริหารกระบวนการที่จะสามารถตอบโจทย์ทางด้านการแข่งขันได้ ทั้งเรื่องคุณภาพ ต้นทุนการผลิต และระยะเวลาที่ใช้ในการผลิตจนถึงการส่งมอบ ดังนั้นการบริหารการผลิตสำหรับหัวหน้างาน จึงมีความสำคัญอย่างมาก การบริหารจัดการได้ดี มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลย่อมจะทำให้ผลลัพธ์ Q C D (Quality, Cost, Delivery) เป็นที่พึงพอใจจนถึงเกินความคาดหมายของลูกค้าได้ ทำให้องค์กรสามารถแข่งขันได้และเติบโตอย่างยั่งยืน
ความสำเร็จทางด้านการผลิต หมายถึงความสามารถในการผลิตสินค้าได้ตรงตามเป้าหมาย ทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ ด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด ความสามารถในการผลิตที่ถูกต้องนั้น ควรเทียบกับข้อสมมุติฐานที่กำลังการผลิตสม่ำเสมอ ตลอดระยะเวลาที่มีทั้งหมดของปีหลักสูตร “การบริหารการผลิตสำหรับหัวหน้างานยุคใหม่” จะกล่าวถึงสิ่งที่เป็นเรื่องธรรมดาๆ ที่ว่าด้วยวัตถุดิบ และขบวนการผลิต รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตามหลัก 4M (Man / Machine / Method  /Materials) โดยจะเน้นการวิเคราะห์หาสาเหตุที่เป็นหัวใจของการผลิตให้ประสบผลสำเร็จ เพื่อให้ได้คำตอบในเรื่องต้นทุน ผลกำไร และประสิทธิภาพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มหาศาลกับการบริหารงานทั้งในส่วนผลิต และการบริหารหลักขององค์กร

วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม

–     เพื่อสร้างแนวคิดในการเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต ในการบริหารการผลิต

–     เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกันการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาอย่างเป็นมีรูปแบบ

–     เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและบริษัทอย่างต่อเนื่อง

–     เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการเลือกใช้กิจกรรมเสริมในการบริหารการผลิต

–     เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี

–     เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม

หัวข้อการอบรม

– ระบบการผลิตและงานบริการในปัจจุบัน

– ต้นทุนการผลิตและแนวทางการแก้ไขเพื่อลดต้นทุน

– การสร้างผลกำไรให้กับองค์กรเพื่อความอยู่รอด

– การเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต คืออะไร

– การวิเคราะห์ปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพตามหลัก 4M

– “คุณภาพ” และความอยู่รอดขององค์กร

– ความสำคัญของ “ลูกค้าภายใน” และ “ลูกค้าภายนอก” สำหรับหัวหน้างาน

– ดัชนีชี้วัดความสำเร็จในการผลิตและเทคนิคการวิเคราะห์ปัญหา

– กลยุทธ์ที่นิยมใช้ในการผลิต

– แนวคิดการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตตามหลักการ QCDSMEE

– แนวคิดของการเพิ่มผลผลิต

  • การปรับปรุงที่ตัวคน
  • การปรับปรุงหน่วยงาน
  • การปรับปรุงตัวงาน
  • การปรับปรุงเทคโนโลยี

– การปรับปรุงการผลิตอย่างต่อเนื่องด้วยวงจร PDCA

– กิจกรรมส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต

  • แนวคิด 5ส เพื่อการเพิ่มผลผลิต
  • ไคเซ็น เพื่อการปรับปรุงงาน
  • การสร้างจิตสำนึกคุณภาพ ด้วย กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ QCC
  • ข้อดีของระบบ TPM การซ่อมบำรุงเครื่องจักรที่ทุกคนมีส่วนร่วม
  • เทคนิคการใช้ระบบ POKA YOKE เพื่อลดของเสีย

– การทำงานเป็นทีมเพื่อความสำเร็จขององค์กร

                   Workshop1เพราะเราทำงานคนเดียวไม่ได้ “การทำงานเป็นทีมที่ประสบผลสำเร็จ”

                   Workshop2ระดมสมองเพื่อลดความผิดพลาดและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

                   Workshop3: “เป้าหมายคุณภาพ” ผ่านการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องแบบ PDCA

รูปแบบการสัมมนา

  1. การบรรยาย                       40 %
  2. เกม / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติWorkshop และการนำเสนอผลงานกลุ่ม   50%
  3. กรณีศึกษา และดูภาพยนตร์                 10 %

 

วิทยากรในการฝึกอบรม             อาจารย์ไมตรี  บุญขันธ์

การศึกษา

ปริญญาตรี ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต (สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า)

ปริญญาโท บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาการจัดการอุตสาหกรรม)

ความเชี่ยวชาญพิเศษในหลักสูตรฝึกอบรม (Productivity Improvement)
Course of Total Productive Maintenance (TPM) การบำรุงรักษาแบบทวีผลที่ทุกคนมีส่วนร่วน
Total Quality Management (TQM) การบริหารงานคุณภาพทั่วทั้งองค์กร
Effectiveness for Kaizen improvement การปรับปรุงด้วยไคเซ็นให้ประสบผลสำเร็จ
QCC course for Production improvement การปรับปรุงคุณภาพการผลิตด้วยกิจกรรมกลุ่มคิวซีซี
5S for Productivity and Quality improvement 5ส. เพื่อการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ
PDCA improvement การปรับปรุงงานด้วยหลักการ PDCA
Poka-Yoke and Visual Control for productivity improvement การป้องกันข้อผิดพลาดให้เป็นศูนย์ โดยการปรับปรุงด้วย Poka-Yoke และ Visual control

from to
Scheduled Public PUBLIC ด้านอุตสาหรกรรมการผลิต และโรงงาน