Online Zoom หลักสูตร การประเมินผลการปฏิบัติงานยุคใหม่ด้วย KPI และ Competency รุ่นที่ 7 : 4 มิถุนายน 2564
Online Zoom หลักสูตร การประเมินผลการปฏิบัติงานยุคใหม่ด้วย KPI และ Competency รุ่นที่ 7 : 4 มิถุนายน 2564
การบรรยายออนไลน์ เรียนผ่าน Zoom มีวิธีใช้งานให้ก่อนวันอบรมจริง 1-3วัน หลังจากสมัครอบรมเเล้ว
โดยสามารถเรียนผ่านคอมพิวเตอร์ หรือมือถือ โดยต้องเช็คชื่อออนไลน์พร้อมกัน ตามวันเวลาที่กำหนด
ยุค New Normal เน้นเรื่อง Output และ Competency แล้วองค์กรของท่านประสบกับปัญหาเหล่านี้บ้างไหม?
-
บุคลากรยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบบริหารผลการปฏิบัติงาน (Performance Management System)
-
ในการกำหนดหัวข้อประเมินผลไม่สามารถกำหนดได้ว่าอะไรคือ Key Performance Indicators อะไรคือ Performance Indicators
หากองค์กรของท่านกำลังประสบกับปัญหาดังกล่าวข้างต้น จนก่อให้เกิดอาการอื่นๆ ของปัญหาการจัดการตามมา อาทิเช่น การประเมินผลไม่เป็นธรรม พนักงานไม่ยอมรับผลการประเมิน หัวหน้ารู้สึกอัดอัดเวลาแจ้งผลงานลูกน้อง ขวัญกำลังใจพนักงานตกต่ำ พนักงานกลุ่ม Talent ทยอยลาออก ฯลฯ
สถาบันฯ ได้ออกแบบและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมนี้ขึ้น จากประสบการณ์ตรงของวิทยากรและที่ปรึกษาที่สร้างสรรค์หลักสูตรให้ “กระชับ เข้าใจง่าย ใช้ปฏิบัติได้จริง พร้อมตัวอย่างแบบฟอร์ม” ที่จะช่วยให้องค์กรของท่านสามารถพัฒนาบุคลากร พัฒนาระบบงานและพัฒนาองค์กรได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการกำหนดเป้าหมายและประเมินผลการปฏิบัติสมัยใหม่ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ (Competitive Advantage) และนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ (Corporate KPIs)
วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ : เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
-
เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิด และความสำคัญของกระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่ (Modern Performance Management Process)
-
สามารถแยกความแตกต่างระหว่าง Key Performance Indicators กับ Competency ได้อย่างชัดเจน
-
เสริมสร้างเทคนิคการกำหนดหลักเกณฑ์ และแบบประเมินผลการปฏิบัติงานยุคใหม่ได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วย KPI และ Competency
หัวข้อสำคัญในการเรียนรู้ :
ส่วนที่ 1 : ปฐมบทเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการประเมินผลการปฏิบัติงานสมัยใหม่ (Introduction to Modern Performance Appraisal)
-
6 ขั้นตอนสำคัญของระบบบริหารผลการปฏิบัติงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Performance Management Process)
-
Key Performance Indicators และ Competency เครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมินผลยุคใหม่
-
แนวทางการกำหนดปัจจัยและค่าน้ำหนักความสำคัญในการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปียุคใหม่
ส่วนที่ 2 : เทคนิคการกำหนด Key Performance Indicators (KPIs) ในการประเมินผลการปฏิบัติงานให้เชื่อมโยงสอดคล้องกับ Vision และ Objective
-
การแปลง KPI Management ไปสู่การวัดผลการดำเนินงานทางธุรกิจ และการประเมินผลการปฏิบัติงานยุคใหม่
-
ตัวอย่าง : การกำหนด Corporate KPIs ด้วย Balance Scorecard (BSC) ในการวัดผลการดำเนินงานทางธุรกิจ
-
แนวทางการกำหนดตัวชี้วัดผลงานของแต่ละฝ่ายงาน (Functional KPIs) ให้เชื่อมโยงกับนโยบาย (Policy) วัตถุประสงค์ (Objective) และเป้าหมายองค์กร (Corporate KPIs)
-
แนวทางการกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมายของตำแหน่งงาน (Position KPIs / Individual KPIs)
-
แนวทางการออกแบบและเชื่อมโยง KPIs สู่การประเมินผลงาน
-
ตัวอย่าง : การออกแบบและเชื่อมโยง KPIs สู่การประเมินผลงาน
ส่วนที่ 3 : วิธีการกำหนดและเชื่อมโยง Competency ไปสู่การประเมินผลการปฏิบัติงาน
-
การแปลง Competency ไปสู่การประเมินขีดความสามารถยุคใหม่ ให้สอดคล้องกับทิศทางองค์กร
-
แนวทางการกำหนด Competency ในการประเมินขีดความสามารถจาก Job Description Version 4
-
แนวทางการแปลง Competency จาก Training Road Map สู่การประเมินความสามารถประจำปีที่สอดคล้องกับทิศทางองค์กร
-
ตัวอย่าง : การแปลง Competency จาก Training Road Map สู่การประเมินความสามารถ ที่สอดคล้องกับทิศทางองค์กร
หลักสูตรนี้เหมาะสมสำหรับ :
เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้าแผนก ฝ่ายทรัพยากรบุคคล และผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบ / วิธีการการเรียนรู้ : ผ่านโปรแกรม Zoom
-
การบรรยาย จากประสบการณ์จริงภาคปฏิบัติที่ทำมากับมือ
-
Workshop ตามความเหมาะสมของเวลาและสถานการณ์ และให้คำแนะนำเพิ่มเติม
-
ตอบข้อซักถามทุก ๆ คำถาม เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนในการเรียนรู้
วันและเวลาสัมมนา :
วันที่ 9 เมษายน 2564 ระหว่างเวลา 13.30-16.30 น.
วิทยากร : อาจารย์ ธนุเดช ธานี (อ.ต้น)
-
วิทยากรและที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้าน HR จากประสบการณ์ 31 ปี
-
วิทยากรพิเศษด้าน HRD ของ SGS ACADEMY
-
วิทยากรพิเศษด้าน HRD คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
-
อาจารย์พิเศษคณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A.) มหาวิทยาลัยภาครัฐ
-
อาจารย์พิเศษคณะรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต (M.P.A.) มหาวิทยาลัยเอกชน
-
อดีตกรรมการสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) 2 สมัย