Online Zoom เปิดรับสมัคร หลักสูตร ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking) อบรม 7 ก.พ.65

Online Zoom เปิดรับสมัคร หลักสูตร ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking) อบรม 7 ก.พ.65

อ.อนุภาพ พันชำนาญ

 

 

สามารถจัดได้ 2 รูปเเบบ Online Zoom/ONSITE

ราคาที่ 1 รูปเเบบ ออนไลน์ ผ่านโปรเเกรม zoom (09.00-12.00)

ราคาโปรโมชั่น ท่านละ 1,500 บาท/วัน (ไม่รวม VAT)

  • สมัครเข้าอบรม 3 ท่าน  ท่านละ 1,300 บาท /คน เข้าอบรมได้ 4 ท่าน

1) ใบประกาศผ่านการอบรม

2) ไฟล์ PDF การสอน

 

หลักการและเหตุผล

         นวัตกรรม (Innovation)  คือ การใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาหรือประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เช่น บริการ ผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการใหม่ๆ (Service, Product, Process) เป็นต้น ที่มีคุณค่า(Value Creation) และมีประโยชน์ต่อผู้อื่น เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเมื่อมีคุณค่าและมีประโยชน์แล้วจะสามารถขยายผลต่อได้เชิงพาณิชย์ หรือขายได้

       ความคิดเชิงนวัตกรรมในองค์กรถือเป็นการปฏิวัติกระบวนการทำงานแบบเดิม ๆ ที่เคยใช้ในการบริหารจัดการในอดีต ยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีการสื่อสารได้เข้ามามีบทบาท ทำให้การรับรู้ของบุคลากรเติบโตอย่างรวดเร็ว ความคิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา หากมนุษย์มิได้มีการพัฒนาความคิด หรือนำความคิดดังกล่าวออกมาแสดง ก็เท่ากับเป็นการปิดกั้นความคิดอย่างเสรี

       ความคิดเชิงนวัตกรรม คือ กระบวนการคิดของสมอง ซึ่งมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม โดยสามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้องจนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ ที่แปลกใหม่หรือรูปแบบความคิดใหม่

         นวัตกรรมหรือสิ่งใหม่ๆ หลายอย่างที่เกิดขึ้นมา ไม่ได้เกิดจากการวางแผนหรือกำหนดชี้ชัดเจนว่า จะต้องทำให้เกิดขึ้นในปีนี้หรือเดือนนี้ หากแต่เกิดจากการเตรียมพร้อมบุคคลากรให้มีทักษะ ความสามารถพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในโลกที่มีความไม่แน่นอนอย่างต่อเนื่อง

        การพัฒนานวัตกรรมให้เกิดขึ้นได้จริงเพื่อสร้างการเติบโตในองค์กร  สิ่งสำคัญมากๆอันดับต้นๆ คือ การสร้างเสริม บ่มเพาะ บุคคลากรให้มีเข้าใจการคิดเชิงนวัตกรรม เห็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์แนวคิดในการสร้างองค์กรนวัตกรรมเช่นเดียวกับผู้นำในองค์กร จนสามารถพัฒนาการทำงาน กระบวนการทำงาน (Process Innovation) ให้ดีขึ้นเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง จนสามารถต่อยอดเป็นการพัฒนานวัตกรรมทางผลิตภัณฑ์หรือบริการ (Product/Service innovation)  และท้ายสุดคือการพัฒนานวัตกรรมรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ (Business Model Innovation) ได้

 

 

วัตถุประสงค์การเรียนรู้

  1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจในหลักการ เทคนิคและกระบวนการ คิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม และสามารถนำมาใช้ในงานได้จริง

  2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ปรับทัศนะและวิธีการเดิม สู่วิธีการใหม่ๆในการคิดเพื่อแก้ปัญหางานด้วยนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์

  3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกทักษะและแลกเปลี่ยนมุมองความคิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรมซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดเชิงนวัตกรรม

  4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน” ซึ่งความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม จะเป็นตัวเชื่อมต่อความแตกต่างนั้น

  5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดเชิงนวัตกรรม” นั้นต้องเริ่มต้นจากที่การมีความคิดเชิงบวกและความคิดสร้างสรรค์”

  6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม ความคิดใหม่ๆ ” จะช่วยพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่ความยั่งยืน

  7. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม”

  8. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”

 

 

หัวข้อการอบรม

  1. ความสำคัญของนวัตกรรม

  • ความสำคัญของทักษะการสร้างนวัตกรรมในโลกยุคปัจจุบัน

  1. การพัฒนาไอเดียนวัตกรรมที่สามารถสร้างคุณค่าสำหรับองค์กร

  2. ไอเดียนวัตกรรมโดยการใช้กระบวนการที่ชัดเจนและข้อมูลของลูกค้า

  3. การสร้างไอเดียนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า

  4. การสร้างไอเดียนวัตกรรมที่พร้อมจะเอาไปต่อยอด-พัฒนาเป็นโครงการได้จริง

  5. การปูพื้นความคิดสร้างสรรค์มา แต่ต้องให้มีนวัตกรรมเกิดได้จริง

  6. รู้จักและเข้าใจกระบวนสร้างนวัตกรรมและทักษะของการสร้างนวัตกรรม

  • ทักษะของนักเก็บข้อมูล : การตั้งคำถามและการสังเกต (ค้นหา) การตั้งคำถามและการสังเกต เพื่อรวบรวมข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือการสร้างนวัตกรรม

  • ทักษะของนักคิด : การหาไอเดียใหม่และการระดมสมอง (ค้นพบ) หลังจากที่นักเก็บข้อมูลได้รวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ แล้ว นักคิดจะหาคำตอบ แนวทางการแก้ไข การหาไอเดียใหม่ ดังนั้นเนื้อหาส่วนนี้จะกล่าวถึงการพัฒนาทักษะของนักคิดคือ การหาไอเดียใหม่ การระดมสมองอย่างมีประสิทธิภาพ

  • ทักษะของนักทำ : การทำต้นแบบ (ลองทำ) เนื้อหาส่วนนี้จะกล่าวถึงทักษะที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของนักทำคือ การทำต้นแบบ (prototype) เพื่อทดสอบไอเดีย วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าใจไอเดียได้ชัดเจนมากขึ้น เนื้อหาส่วนนี้จะอธิบายวิธีการทำต้นแบบต่างๆ และการสร้างต้นแบบอย่างง่ายของแอพในสมาร์ตโฟน

  • ทักษะของนักสื่อสาร : การนำเสนอทักษะของนักเก็บข้อมูล : การตั้งคำถามและการสังเกต หลังจากที่สร้างผลงานแล้ว นักสื่อสารจะต้องสื่อสารผลงานหรือนวัตกรรมเพื่อให้ผู้อื่นเห็นพ้องหรือคล้อยตาม ดังนั้นเนื้อหาส่วนนี้จะทำให้ผู้เรียนฝึกนำเสนอไอเดียหรือแนวคิดของตนให้ผู้อื่นทราบอย่างมีประสิทธิภาพ

  • การพัฒนานิสัยหรือโครงการนวัตกรรม : เนื้อหาส่วนนี้จะสรุปเนื้อหาและแนะนำวิธีพัฒนาโครงการนวัตกรรม และการพัฒนานิสัยของนักสร้างนวัตกรรมอย่างยั่งยืน โดยวิทยากรจะมอบหมายวิธีฝึกนิสัย กิจกรรมหรือโครงงานเพื่อให้ผู้เรียนที่สนใจนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงานของตนเอง

ภาพรวมของการคิด

  • กระบวนการคิด (Thinking Process)

  • ความคิดเชิงบวก (Positive Thinking)

  • ความคิดริเริ่ม (Initiative Thinking)

  • ความคิดนอกกรอบ (Lateral Thinking or Think out of the box)

  • ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking)

  • การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

  • ความคิดเชิงนวัตกรรม (Innovative Thinking)

  • กิจกรรมเพื่อการฝึกฝนพัฒนาทักษะการคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์

  • กิจกรรมกลุ่มเพื่อฝึกฝนการระดมสมอง (Brain Storming) ให้ได้มาซึ่งความคิดสร้างสรรค์

  • เทคนิคต่างๆ ในการให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์

  • หลักการคิดด้วยมิติ 4 ย. (โยง,ใหญ่,แยก,ย่อย)

  • การคิดด้วยหมวก 6 ใบ, การคิดแบบผู้ชนะ 10 คิด

  • การดักจับความคิด (Idea spotting)

  • กระบวนการจัดลำดับความคิด

  • การประยุกต์ใช้ในการเขียนภาพภูมิความคิด (Mind Map & Concept Map)

  • เทคนิค “ไม่พอใจกับสิ่งที่มีอยู่…หรือสิ่งที่เป็นอยู่”

  • เทคนิค “ตรงกันข้าม”

 

 

 

 

ประโยชน์ที่จะได้รับ

1.ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจในหลักการ เทคนิคและกระบวนการ คิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรม และสามารถนำมาใช้ในงานได้จริง

2.ผู้เข้าอบรมได้ปรับทัศนะและวิธีการเดิม สู่วิธีการใหม่ๆในการคิดเพื่อแก้ปัญหางานด้วยนวัตกรรมเชิงสร้างสรรค์

3.ผู้เข้าอบรมได้ฝึกทักษะและแลกเปลี่ยนมุมองความคิดเชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรมซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความคิดเชิงนวัตกรรม

4.ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า “สิ่งดีๆ และมีคุณค่าบางอย่างล้วนเกิดขึ้นได้เพราะความแตกต่างของคน” ซึ่งความคิดสร้างสรรค์เชิงนวัตกรรม จะเป็นตัวเชื่อมต่อความแตกต่างนั้น

5.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ว่า “รากฐานของการมีความคิดเชิงนวัตกรรม” นั้นต้องเริ่มต้นจากที่การมีความคิดเชิงบวกและความคิดสร้างสรรค์”

6.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “คุณค่าของการมีความคิดริเริ่ม ความคิดใหม่ๆ ” จะช่วยพัฒนาตนเองและองค์กรไปสู่ความยั่งยืน

7.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยนวัตกรรม”

8.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ “วิธีการระดมสมองเพื่อให้ได้มาซึ่งความคิดนอกกรอบอย่างสร้างสรรค์”

 

รูปแบบหลักสูตร

1.การบรรยาย                                                        30 %

2.เกมส์ / กิจกรรมกลุ่ม / ฝึกปฏิบัติ Workshop      70%

 

ติดต่อสอบถาม

Tel : 098-8209929 คุณกุ้ง

E-mail: inwtraining.sale@gmail.com

Line id : @Tesstraining

Facebook : tesstrainingpage

ทาง บริษัท เทสส์ เทรนนิ่ง จำกัด เป็นบริษัทฝึกอบรมสัมมนาครบวงจร

http://www.tesstraining.com