Public Training หลักสูตร เทคนิคการออกแบบและกำหนด OKRs อย่างมีประสิทธิภาพ รุ่นที่ 7 (Effective Objective and Key Results) : 1 พฤศจิกายน 2565
Public Training หลักสูตร เทคนิคการออกแบบและกำหนด OKRs อย่างมีประสิทธิภาพ รุ่นที่ 7 (Effective Objective and Key Results) : 1 พฤศจิกายน 2565
เวลาอบรม 09.00-16.00 ได้รับใบประกาศนียบัตร
โรงแรมเซนต์เจมส์ สุขุมวิท 26 กรุงเทพฯ ติด BTS เดินทางสดวกค่
เรียนรู้ OKRs (Objective & Key Results) ครบจบภายในวันเดียว ในการ Implement และแก้ไขปัญหา OKRs ที่เจอในภาคปฏิบัติ อาทิเช่น
-
บุคลากรที่มียังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่อง OKRs
-
ไม่สามารถแยกความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง OKRs (Objective & Key Results) กับ KPI (Key Performance Indicators)
-
ออกแบบและกำหนด OKRs แต่ไม่เชื่อมโยงกับสอดล้องกับ Vision และ Mission ขององค์กร
-
ออกแบบและกำหนด Key Results แต่ไม่เชื่อมโยงกับสอดล้องกับ Objective
-
ไม่รู้เทคนิคและวิธีออกแบบและกำหนด OKRs ให้เชื่อมโยงสอดคล้องกันทั้งองค์กร
-
ไม่รู้จะกำหนดแนวคิดที่ทำให้องค์กรบรรลุ OKRs ได้อย่างไร
-
ไม่รู้แนวทางในการนำ OKRs ไปต่อยอดการบริหารจัดการองค์กรและบุคลากร
-
ถ้าองค์กรมี KPI ในระบบ ISO9001 / IATF16949 จะแปลงไปเป็น OKRs ได้หรือไม่ ? ถ้าได้จะทำอย่างไร ?
-
ไม่รู้วิธีการและเทคนิคเชื่อมโยง OKRs สู่ระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี
หลักสูตรฝึกอบรมสถาบันฯ ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้น ที่จะให้ช่วยองค์กรของท่านได้ “เรียนรู้กระชับ เข้าใจง่าย และมี Workshop ฝึกปฏิบัติที่นำไปปรับใช้งานได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม”
วัถตุประสงค์ของการอบรม : เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
-
สามารถอธิบาย หลักการ แนวคิด ขั้นตอน และวิธีการนำ OKRs (Objective and Key Results) มาปรับใช้ในการบริหารจัดการองค์กรได้
-
สามารถอธิบายความเหมือน และความแตกต่างระหว่าง KPIs (Key Performance Indicators) และ OKRs ได้อย่างชัดเจน และประยุกต์ใช้ในการบริหารงานและคนตามได้บริบทที่เหมาะสม
-
สามารถกำหนด Key Results ที่ชัดเจนสามารถวัดผลลัพธ์ได้สอดคล้องกับ Objective และ OKRs ขององค์กรได้อย่างชัดเจน เป็นรูปธรรม
-
สามารถแปลง KPIs ที่องค์กรมีอยู่ให้เป็น OKRs ได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
-
สามารถกำหนด Strategy หรือ Initiative ให้สอดคล้องกับ OKRs ในการดำเนินงานให้บรรลุผลลัพธ์ได้
-
สามารถนำความรู้ และเทคนิคที่ได้รับไปปรับใช้ต่อยอดในการกำหนด OKRs ให้สอดคล้องกับ OKRs ขององค์กรและผู้บริหารได้
หัวข้อสำคัญการอบรม :
ส่วนที่ 1 : หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับ OKRs (OKRs Introduction)
-
ความหมายของ OKRs
-
Concept ของ OKRs
-
ความเหมือนและความต่างระหว่าง KPIs กับ OKRs
-
ความเชื่อมโยงของ OKRs กับ Performance Management System (PMS)
-
5 ระดับของ OKRs : Company’s OKRs, Department’s OKRs, Section’s OKRs, Team’s OKRs, Position’s OKRs
ส่วนที่ 2 : แนวปฏิบัติในการกำหนด OKRs ให้สอดคล้องกับ Mission และ Vision ขององค์กร
-
การทบทวนวัตถุประสงค์ และผลลัพธ์หลักขององค์กร (Review Objective and Key Results)
-
แนวทางการสื่อสาร OKRs ด้วย Strategic Mapping (OKRs Alignment )
-
แนวทางการประยุกต์ใช้ Balance Scorecard ในการกำหนด Objective และ Key Results
-
ขั้นตอนการนำ OKRs ไปประยุกต์ใช้ในการบริหารองค์กร (OKRs Process)
ส่วนที่ 3 : วิธีการ และเทคนิคการกำหนด OKRs (OKRs Techniques)
-
แนวทางการกำหนด Objective ที่ดีและมีประสิทธิภาพ
-
เทคนิคการกำหนด Key Results ด้วยหลักการ SMART Goal Setting
-
แนวทางการกำหนด Key Results ให้สอดคล้องกับ Objective และสอดคล้องกันทั้งองค์กร
-
ตัวอย่าง : Department’s / Section’s OKR
-
Workshop 1 : ฝึกปฏิบัติจัดทำ Department’s OKRs /Section’s OKRs (Step 1 : Objective & Step 2 : Key Results)
ส่วนที่ 4 : ถ้าองค์กรมี KPIs อยู่ จำเป็นต้องยกเลิก แล้วใช้ OKRs แทนหรือไม่ ?
-
แนวทางการพัฒนาต่อยอด KPIs ให้กลายเป็น OKRs
-
Workshop 2 : ฝึกปฏิบัติการประยุกต์ KPIs ให้กลายเป็น “OKRs”
ส่วนที่ 5 : แนวทางการกำหนดกลยุทธ์ หรือแนวคิดริเริ่มการทำงาน เพื่อให้สอดคล้องกับ OKRs (Strategy or Initiative link to OKRs)
-
แนวทางการกำหนดกลยุทธ์ หรือแนวคิดริเริ่มการทำงานให้สอดคล้องกับ OKRs
-
Workshop 3 : ฝึกปฏิบัติกำหนดกลยุทธ์ให้บรรลุ OKRs
-
แนวทางการแปลงกลยุทธ์สู่การปฏิบัติจริงด้วย Action Plan
-
การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตาม OKRs ด้วยบันทึกข้อตกลงผลการปฏิบัติงาน (OKRs Performance Agreement)
ส่วนที่ 6 : เทคนิคการประเมินผลการปฏิบัติงานด้วย OKRs
-
ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานยุคใหม่ (Modern Performance Management System)
-
เครื่องมือการประเมินผลการปฏิบัติงานยุคใหม่ด้วย OKRs และ Competency ที่สอดคล้องกับ OKRs องค์กร
-
แนวทางการนำ OKRs ไปใช้ประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal based on OKRs)
-
ตัวอย่าง : การประเมินผลการปฏิบัติงานด้วย OKRs ที่สอดคล้องกับ Objective และ Company’s OKR
ส่วนที่ 7 : ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดทำ OKRs
-
Mindset ของ CEO และพนักงานในการจัดทำ OKRs
-
ข้อควรระวังในการจัดทำ OKR (Mistaken about OKR)
วิธีการ/รูปแบบในการเรียนรู้ :
-
การบรรยาย (Lecture) แบบ Adult Learning
-
การจัดทำ Workshop เชิงปฏิบัติการ และนำเสนอ
-
การตอบข้อซักถาม
หลักสูตรนี้เหมาะสมสำหรับ :
ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการฝ่าย หัวหน้าแผนก นักบริหารทรัพยากรบุคคล และผู้สนใจทั่วไป
วิทยากร : อาจารย์ ธนุเดช ธานี (อ.ต้น)
-
วิทยากรและที่ปรึกษาผู้ชำนาญการพิเศษด้าน HR จากประสบการณ์ 32 ปี
-
วิทยากรพิเศษด้าน HRD ของ SGS ACADEMY
-
วิทยากรพิเศษด้าน HRD คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
-
อดีตกรรมการสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) 2 สมัย