ยืนยันจัด Online Zoom หลักสูตร การเขียน Email ภาษาอังก […]
https://inwtraining.com/wp-content/uploads/2023/01/unnamed-1.jpg
600
1048
admin
https://inwtraining.com/wp-content/uploads/2018/11/inw2-1.png
admin2023-01-05 07:44:072024-07-05 10:42:54ยืนยันจัด Online Zoom หลักสูตร การเขียน Email ภาษาอังกฤษเเบบมืออาชีพ สำหรับมือใหม่ อบรม 9 ก.พ.66หลักสูตร “เทคนิคการควบคุมกระบวนการและคุณภาพ SPC และ QC7 Tools” (SPC & QC 7 Tools for Processing and Quality Control) 9 กุมภาพันธ์ 2566
หลักการเเละเหตุผล
Statistical Process Control หรือ SPC คือ การควบคุมกระบวนการและขั้นตอนการผลิตสินค้าโดยใช้หลักทางสถิติเป็นเครื่องมือ ด้วยการสุ่มตัวอย่างตามวิถีทางสถิติที่ถูกต้องเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาสังเกตุ วิเคราะห์ เปรียบเทียบ และวัดผลการดำเนินงานผลิตเพื่อบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ โดยมีจุดประสงค์เพื่อควบคุมคุณภาพของสินค้าสำเร็จรูปที่ผลิตได้ตั้งแต่ต้นจนถึงท้ายกระบวนการ สามารถกำจัดของเสีย และทราบสาเหตุของการผลิตของเสียได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ (High Quality) ต้นทุนการผลิตต่ำ (Low Cost) และส่งมอบสินค้าได้ตรงกำหนดเวลา (On Time Delivery)
การควบคุมคุณภาพด้วยหลักการ QC 7 Tools (Quality Control 7 Tools) หรือเครื่องมือ 7 ประการในการควบคุมคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐานมาใช้เพื่อควบคุมการผลิตให้มีประสิทธิภาพและผลิตสินค้าให้มีคุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ ด้วยการลดของเสียหรือ Re-work ลง ลดต้นทุนการผลิต ลดระยะเวลาการผลิต ทราบถึงสาเหตุและที่มาของของเสียที่ผลิตขึ้นในแต่ละวัน รวมถึงการหาแนวทางและวิธีการในการจัดการและควบคุมคุณภาพการผลิตให้ได้ตามที่ต้องการได้อย่างยั่งยืน
ด้วยเหตุนี้หลักสูตรเทคนิคการควบคุมกระบวนการและคุณภาพ SPC และ QC7 Tools จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยสร้างความได้เปรียบขององค์กร และเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้อย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย
วัตถุประสงค์
เพื่อให้เข้าใจถึงเหตุผล และความสำคัญในการควบคุมและเพิ่มศักยภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รู้ถึงเทคนิคการลดของเสียในธุรกิจอุตสาหกรรม การวิเคราะห์เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพที่เหมาะสม ทราบสาเหตุและแหล่งที่มาของของเสียที่เกิดขึ้น รวมถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมรู้หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับระบบ SPC และ QC 7 Tool ได้อย่างแท้จริง
เทคนิคการควบคุมกระบวนการและคุณภาพ SPC และ QC7 Tools จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในด้านคุณภาพได้เข้าใจ และสามารถนำเครื่องมือและระบบดังกล่าวมาใช้ปฏิบัติได้จริง เพื่อพัฒนาศักยภาพในด้านการวางแผนการด้านคุณภาพและปฏิบัติงานให้ดี มีประสิทธิภาพ มีต้นทุนต่ำอย่างเหมาะสม และทำให้องค์กรมีโอกาสที่จะมีผลกำไรในการดำเนินธุรกิจได้
เนื้อหาของหลักสูตร
-
การควบคุมกระบวนการและคุณภาพด้วยหลักการ Statistical Process Control คืออะไร จุดประสงค์ ความแม่นยำและประโยชน์ที่ได้รับ
-
ความรู้ทางสถิติและข้อมูลเบื้องต้นของการควบคุมคุณภาพ
-
ปัจจัยที่สำคัญในการควบคุมคุณภาพด้วยหลักการ SPC
-
ขั้นตอนการควบคุมคุณภาพและกระบวนการด้วยหลักการ SPC
-
การควบคุมคุณภาพด้วยเครื่องมือ 7 ประการ (QC 7 Tools)
-
แผนภูมิก้างปลา (Cause and Effect Diagram)
-
กราฟ (Graph)
-
แผ่นตรวจสอบ (Check Sheet)
-
แผนผังการกระจาย (Scatter Diagram)
-
ฮีสโตแกรม (Histogram)
-
แผนผังพาเรโต (Pareto Diagram)
-
หลักการเบื้องต้นของระบบ QCC (Quality Control Cycle)
วิธีการสัมมนา การบรรยาย การให้คำปรึกษา และร่วมอภิปราย ระดมสมอง
กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหลัก ผู้จัดการโรงงาน/ ผู้บริหารระดับกลาง เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ ฝ่ายผลิต ฝ่ายวางแผน ฝ่ายซ่อมบำรุง ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายคลังสินค้าวัตถุดิบ วิศวกร
ระยะเวลา 1 วัน จำนวนวันละ 6 ชั่วโมง เวลา 9.00 – 16.00 น.
วิทยากร อ.อนันต์ ดีโรจนวงศ์
ติดต่อสอบถาม
Tel : 02-577-5369 098-8209929 คุณสาลินี ,คุณกุ้ง
Line id : @Tesstraining
บริษัท เทสส์ เทรนนิ่ง จำกัด (สำนักงานใหญ่)
เลขที่31/155หมู่ที่1ตำบลรังสิต อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี12110
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี: 0105557143661
https://inwtraining.com/wp-content/uploads/2018/11/inw2-1.png
0
0
admin
https://inwtraining.com/wp-content/uploads/2018/11/inw2-1.png
admin2023-01-04 03:55:572023-01-04 03:59:36หลักสูตร “เทคนิคการควบคุมกระบวนการและคุณภาพ SPC และ QC7 Tools” (SPC & QC 7 Tools for Processing and Quality Control) 9 กุมภาพันธ์ 2566Online Zoom เปิดรับสมัคร ยืนยัน หลักสูตร การเพิ่มค่า %OEE และ ลด Loss Time ในกระบวนการผลิต อบรม 4 กุมภาพันธ์ 2566
หลักการเเละเหตุผล
ค่า OEE เป็นดัชนีตัวหนึ่งที่ใช้วัดความสำเร็จของ TPM ในภาพรวม โดยพิจารณาที่ผลลัพธ์เป็นสำคัญ กล่าวคือ การพิจารณาที่การใช้ประโยชน์จากเครื่องจักร การใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบและการทำงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยให้หาค่า %A (Available time) หรือเวลาการทำงานของเครื่องจักรจริงเทียบกับเวลาการทำงานของเครื่องจักรตามแผน และ ค่า %P (Performance Rate) หรือ ประสิทธิภาพการเดินเครื่องจักร รวมถึงค่า %Q (Good Quality Rate) ซึ่งก็คือ อัตราการคุณภาพการผลิตสินค้าดีทั้งหมด
การเพิ่มค่า Overall Equipment Effectiveness หรือ OEE นั้นเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องจักรแต่ละตัวได้อย่างชัดเจนด้วยการวิเคราะห์จากข้อมูลการผลิตที่บันทึกได้ โดยต้องบันทึกค่าทุกวัน ทุกเครื่อง เพื่อบำรุงรักษาเครื่องจักรก่อนที่จะเกิด Downtime ซึ่งจะทำให้ผลผลิตลดลง รวมถึงค่าบำรุงรักษาเครื่องจักรก็สูงขึ้นได้
ค่า OEE นั้นค่าที่สูงจะดีกว่าค่าที่ต่ำ ซึ่งระดับของค่าดังกล่าวนั้นขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแต่ละองค์กรที่จะเป็นผู้กำหนดตามความเหมาะสม และต้องพยายามไม่ให้ค่า OEE ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดซึ่งจะหมายถึงการเกิดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตหรือที่เรียกว่า Loss time นั่นเอง
Loss time หรือ “เวลาความสูญเปล่าในการผลิต” ซึ่งก็คือเวลาที่สูญเสียไปในระหว่างการผลิตในเรื่องของการทำงานผิดขั้นตอน เป็นเวลาที่ไม่สร้างคุณค่า (Non-value time) มักเกิดขึ้นบ่อย ๆ และแฝงตัวอยู่ในเกือบทุกขั้นตอนการผลิตและอาจจะไม่สามารถตรวจวัดในขณะผลิตได้อย่างชัดเจน ดังนั้นเราควรทำกิจกรรมที่เรียกกันว่า “กิจกรรมการลด Loss time การผลิต” ซึ่งจะทำให้สามารถผลิตชิ้นงานได้เพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่กำหนดได้ในสูตรการผลิต และในอนาคตกิจกรรมเพื่อลด Loss time นี้ ซึ่งจะส่งผลให้เวลาการผลิตที่ใช้ลดลง และจำนวนชิ้นงานก็จะเพิ่มขึ้นตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม
การเพิ่มค่า %OEE และการลดค่า Loss time เป็นส่วนหนึ่งของหลักการวัดประสิทธิภาพเครื่องจักรโดยรวม (Overall Equipment Effectiveness) ดังนั้นหากโรงงานมีการวัดค่า OEE อย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้ประสิทธิภาพเครื่องจักรไม่ลดลง หรืออาจทำให้สูงขึ้นได้อีกด้วย ซึ่งก็จะสามารถใช้งานเครื่องจักรได้เต็มประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่ายในการผลิตก็ลดลงตามมานั่นเอง
วัตถุประสงค์
-
ลดการสูญเสียในการทำงานของเครื่องจักร (Big Loss)
-
เพิ่มประสิทธิภาพในการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้มากขึ้น
-
ลดระยะเวลาการ Downtime ของเครื่องจักรลงอย่างได้ผล
-
เพิ่มผลผลิตได้ตามเป้าหมายที่กำหนด
-
ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่องจักร
-
ลดความแปรปรวนของกำลังการผลิตในแต่ละวัน
-
ลดของเสียที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิต
-
สร้างความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ (Change Over) เพื่อผลิตสินค้าได้อย่างหลากหลาย
เนื้อหาของหลักสูตร
-
ความหมายของค่า OEE และ Loss time ของเครื่องจักร
-
การแบ่งประเภทของค่า OEE และ Loss time
-
วิธีการเลือกเครื่องจักรในการวัดค่า OEE และ Loss time
-
ขั้นตอนและวิธีการบันทึกค่า OEE และ Loss time การผลิต
-
สูตรการคำนวณค่า OEE และ Loss time
-
วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากค่า OEE และ Loss time
-
การค้นหาสาเหตุและการแก้ไขค่า OEE และ Loss time
-
กรณีศึกษาโรงงานที่ประสบความสำเร็จในการจัดการค่า OEE และ Loss time
วิธีการสัมมนา การบรรยาย การฝึกปฏิบัติ และร่วมอภิปราย
กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหลัก ผู้จัดการโรงงาน/ ผู้บริหารระดับกลาง หรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร ฝ่ายวางแผน ฝ่ายผลิต ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ ฝ่ายซ่อมบำรุง ฝ่ายจัดซื้อ วิศวกร
ระยะเวลา 1 วัน จำนวนวันละ 6 ชั่วโมง เวลา 9.00 – 16.00 น.
วิทยากร : อาจารย์ อนันต์ ดีโรจนวงศ์
– MBA Logistics Management
– Lean Production Consultant
– ที่ปรึกษาสมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุน (A.S.I.A.)
– ที่ปรึกษาเครือข่าย Lean Production สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น
– ที่ปรึกษาอุตสาหกรรมการผลิตและโลจิสติกส์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
– อาจารย์พิเศษและวิทยากรด้านการผลิตและลอจิสติกส์ ม.รัฐฯและเอกชนหลายแห่ง
– ที่ปรึกษาสถานประกอบการดีเด่นโครงการ OPOAI กระทรวงอุตสาหกรรม
ราคาหลักสูตรออนไลน์ รับวุฒิบัตรใบประกาศ
สามารถเรียนได้ทางคอมเเละมือถือ อยู่ที่ไหน ก้อสามารถเรียนได้ ผ่านระบบโปรเเกรม ZOOM
หลักสูตรนี้มีคำตอบ ที่นี่ที่เดียว
สนใจสมัครเพื่อรับองค์ความรู้ได้ที่ คุณกุ้ง 0988209929 คุณกุ้ง
โปรโมชั่น
-
สมัครลงทะเบียน 1 ท่าน ในราคาท่านละ 2,500 บาท ไม่รวม vat 7%
-
สมัครเข้าอบรม 4 ท่าน ชำระเพียง 3 ท่าน
ติดต่อสอบถาม
Tel : 098-8209929 คุณกุ้ง
E-mail: inwtraining.sale@gmail.com
Line id : @Tesstraining
Facebook : tesstrainingpage
www.tesstraining.com
www.inwtraining.com
https://inwtraining.com/wp-content/uploads/2018/11/inw2-1.png
0
0
admin
https://inwtraining.com/wp-content/uploads/2018/11/inw2-1.png
admin2023-01-04 03:48:592023-01-04 03:50:14Online Zoom เปิดรับสมัคร ยืนยัน หลักสูตร การเพิ่มค่า %OEE และ ลด Loss Time ในกระบวนการผลิต อบรม 4 กุมภาพันธ์ 2566