Online Zoom เปิดรับสมัคร ยืนยัน หลักสูตร เทคนิคการจัดทำเอกสารตาม มาตรฐาน ISO 22301-2019 23 มี.ค.65
ยืนยัน เปิดรับสมัคร หลักสูตร เทคนิคการจัดทำเอกสารตาม มาตรฐาน ISO 22301-2019 23 มี.ค.65
( 1 วัน บรรยาย 09.00-16.00)
-
สมัครลงทะเบียน 1 ท่าน ในราคาท่านละ 2,500 บาท ไม่รวม vat 7%
-
สมัครเข้าอบรม 4 ท่าน ชำระเพียง 3 ท่าน
-
ราคาหลักสูตรออนไลน์ รับใบประกาศ
บรรยายโดย อาจารย์ เหรียญชัย นำชัยศรีค้า
จากสถานการณ์ความไม่แน่นอน (Uncertainties) และแนวโน้ม (Trends) ของปัจจัยภายนอก ไม่ว่า จะเป็นด้านสังคม (Social) สิ่งแวดล้อม (Environment) การเมือง (Political) เศรษฐกิจ (Economic) เทคโนโลยี (Technology) และอื่น ๆ อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยง (Risks) ที่มีผลกระทบต่อองค์กรทั้งในแง่บวกที่ ก่อให้เกิดโอกาส (Opportunity) ที่ช่วยส่งเสริมธุรกิจและการดำเนินงาน และในแง่ลบที่ทำให้เกิดอุปสรรค (Threats) ต่อการดำเนินงานซึ่งอาจมีความรุนแรงเพียงเล็กน้อยหรือรุนแรงถึงขั้นที่ทำให้การดำเนินงานต้อง หยุดชะงัก
ดังนั้น องค์กรจึงควรต้องมีการเตรียมรับมือกับเหตุการณ์ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น โดยอาศัย เครื่องมือ (Tools) ในการบริหารจัดการในสถานการณ์ความไม่แน่นอน เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการได้ อย่างต่อเนื่อง หรือสามารถฟื้นฟูกิจการที่หยุดชะงักได้อย่างรวดเร็ว แนวคิดการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM) เป็น เครื่องมือหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการจัดการกับความเสี่ยงและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นแก่องค์กร เพื่อบรรเทาหรือ ขจัดผลกระทบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้และสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีหลายองค์กรที่มี การจัดทำมาตรฐานระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ เพื่อใช้เป็นข้อกำหนดในการดำเนินงานและ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน
วัตถุประสงค์
-
เพื่อให้เกิดความเข้าใจในโครงสร้างข้อกำหนด ISO 22301:2019
-
เพื่อให้เข้าใจวัตถุประสงค์ ประโยชน์ที่ได้รับ จุดมุ่งหมายของข้อกำหนด ISO 22301:2019
-
เพื่อให้เกิดความเข้าใจแนวทางการมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่สำคัญต่อการนำระบบไปปฏิบัติงาน
-
เพื่อให้สามารถออกแบบฟอร์มเอกสาร เพื่อนำไปใช้ในการบริหารการจัดการภายใต้ภาวะวิกฤต ได้
หัวข้อการอบรม
-
ปรับกรอบความคิด (Mindset)
Facilitator and Group Coaching เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ให้เกิดกรอบความคิด ในรูปแบบ ของ Growth Mindset และ Outward Mindset เพื่อประโยชน์ในด้านการทำงานการคิดวางแผน การสื่อสาร การดำเนินปฏิบัติ ในแนวทางการบริหารธุรกิจความต่อเนื่องภายใต้ภาวะวิกฤติ
-
แนวโน้ม ความไม่แน่นอน และความซับซ้อน กลยุทธ์กับความต่อเนื่องทางธุรกิจ
Facilitator and Group Coaching เพื่อให้ผู้เข้าอบรม เข้าใจประเด็น ของ VUCA World และประเด็นปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ มีปัจจัยอะไร บ้างถ้าเกิดขึ้นแล้ว จะภาวะวิกฤติ เกิดขึ้น และทำความเข้าใจในความหมายของความต่อเนื่องทางธุรกิจ คือ อะไร
-
ประโยชน์ของการจัดทำ แผนการบริหารความต่อเนื่อง ทางธุรกิจภายใต้ภาวะวิกฤติ
Facilitator and Group Coaching เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ได้เข้าใจและเห็นประโยชน์ของการจัดทำ แผนการบริหารความต่อเนื่อง
-
PDCA ต่อการจัดทำเตรียมข้อมูล เพื่อการจัดทำเอกสารสำหรับการบริหารความต่อเนื่อง
Facilitator and Group Coaching เพื่อให้ผู้เข้าอบรม เข้าใจในกระบวนการของ PDCA ว่าเข้าไปอยู่ในกระบวนการของการบริหารธุรกิจเพื่อความต่อเนื่องภายใต้ภาวะวิกฤติ ในแต่ละบริบทหัวข้อของ ISO 22301 อย่างไร และสามารถเชื่อมโยงไปสู่กระบวนการการจัดทำเอกสาร เพื่อรองรับอย่างไร
-
การวางระบบการจัดเตรียมเอกสาร เพื่อเข้าสู่กระบวนการจัดทำแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจภายใต้ภาวะวิกฤติ
Facilitator and Group Coaching เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เกิดการตระหนักรู้ถึง แนวทางในการจัดเตรียมเอกสาร ต่าง ๆ ว่าต้องมีอะไร บ้าง หลังจากที่ได้เข้าในกระบวนการ PDCA แล้ว ประกอบไปด้วยหลักใหญ่ คือ
-
นโยบาย
-
การกำหนดโครงสร้าง และการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของบุคลากร
-
กระบวนการการบริหารการจัดการความต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้
-
การประเมินความพร้อม
-
การประเมินความเสี่ยง
-
แนวทางรูปแบบ Form ต่าง ๆ ว่าควรมี Form แบบ เอกสารอะไรบ้าง
Facilitator and Group Coaching เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการประยุกต์ การจัดทำ Form เพื่อให้สามารถเข้ากับธุรกิจของบริษัทได้ Form เอกสารที่ควรมี คือ
-
เป้าประสงค์ของการจัดทำ BCP ในแต่ละวิกฤติ
-
กำหนดพันธกิจหลักที่ต้องทำ
-
การจัดทำรายละเอียดของกิจกรรมที่อยู่ในพันธกิจแกนหลัก
-
การจัดทำรายละเอียดของทรัพยากรที่ต้องใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ
-
ตารางประเมินความเสียหายของทรัพยากร
-
ลำดับความสำคัญและระยะเวลาสูงสุดที่ยอมรับได้ของการหยุดชะงัก
-
แผนงานการวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ
-
ตารางเปรียบเทียบผลกระทบความเสี่ยงและความน่าจะเป็น
-
แผนทางการเงิน
-
เป็นต้น
แนวทางการอบรม จะใช้แนวทาง Positive Psychology และแนวทางอำนวยการให้เกิดความคิด แบบการสนทนาพูดคุยในวง (Dialogue) พร้อมทั้งคำถามชวนคิด เพื่อให้เกิดแนวความคิดจากผู้เข้าอบรมเอง พร้อมทั้งให้แนวทางการบรรยาย 30% Workshop แนวทาง แบบ Facilitator & Coaching 70%