เปิดรับสมัคร ยืนยัน หลักสูตร การบริหารกลยุทธ์ สำหรับผู้บริหารยุคใหม่ รุ่นที่ 2 (Strategic Management for The Modern Executives) : 4 พฤษภาคม 2564
เปิดรับสมัคร ยืนยัน หลักสูตร การบริหารกลยุทธ์ สำหรับผู้บริหารยุคใหม่ รุ่นที่ 2 (Strategic Management for The Modern Executives) : 4 พฤษภาคม 2564
โรงเเรม เซนเจมส์ สุขุมวิท 20 ติด BTS อโศก
ความสำเร็จขององค์กรหรือฝ่ายงานอยู่ที่กลยุทธ์ (Strategy) และกลยุทธ์ที่ดีต้องเชื่อมโยงสู่เป้าหมายหลัก (KPIs) ผู้บริหารและผู้จัดการยุคใหม่จึงต้องมีความ Competency ในการบริหารกลยุทธ์ (Strategic Management) ในการขับเคลื่อนองค์กรฝ่ามรสุมการแข่งขันทางธุรกิจไปสู่เป้าหมายขององค์กร (Corporate KPIs) หรือเป้าหมายของฝ่ายงาน (Functional KPIs) ที่กำหนดไว้ ด้วยเหตุนี้องค์กรยุคใหม่จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้บริหารทุกระดับในองค์กรให้เป็น “ผู้บริหารเชิงกลยุทธ์ (Strategic Executive)” เพื่อเสริมสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ (Competitive Advantage) ให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมภายนอก
หลักสูตรฝึกอบรมนี้สถาบันฯ ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้นจากประสบการณ์ในการบริหารกลยุทธ์มาถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคนิค และประสบการณ์ในรูปแบบที่ “กระชับ เข้าใจง่าย และปรับใช้งานได้จริง อย่างเป็นรูปธรรม”
วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ :
-
เพื่อเป็นการเสริมสร้าง ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการบริหารกลยุทธ์ สำหรับผู้บริหารยุคใหม่ (Strategic Management for Modern Executive)
-
เสริมสร้างเทคนิคในการกำหนกกลยุทธ์องค์กรด้วย SWOT Analysis และ TOWS Matrix
-
สามารถกำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Objective) ตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Measures) เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Targets) และการริเริ่มเชิงกลยุทธ์ (Strategic Initiatives) ให้เชื่อมโยงสอดคล้องกับเป้าหมายและกลยุทธ์องค์กรได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
-
สามารถผ่องถ่ายกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ (Strategic Cascade) ได้อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
-
เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้และเทคนิคที่ได้รับไปปรับใช้ในการบริหารจัดการได้อย่างเป็นรูปธรรม
หัวข้อสำคัญของการเรียนรู้ :
ส่วนที่ 1 : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารกลยุทธ์ (Strategic Management)
-
กลยุทธ์กับการจัดการเชิงกลยุทธ์ (Strategy VS Strategic Management) ?
-
ประเภทของกลยุทธ์ และระดับตำแหน่งที่ต้องบริหารกลยุทธ์ ?
-
จำเป็นด้วยหรือที่ผู้บริหารต้องบริหารกลยุทธ์ ?
-
3 ขั้นตอนหลักในการบริหารแผนกลยุทธ์ (Strategic Management Process)
ส่วนที่ 2 : การกำหนดกลยุทธ์ขององค์การ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจ (Formulate The Organizational Strategy)
-
แนวทาง SWOT Analysis ปัจจัยภายนอกองค์กรด้วย C–PEST และปัจจัยภายในองค์กรด้วย 7S
-
แนวทางการกำหนดกลยุทธ์องค์กร (Company Strategy) ด้วย TOWS Matrix
-
Workshop 1 : ฝึกปฏิบัติกำหนด Company Strategy
-
แนวทางการกำหนดกลยุทธ์ฝ่ายงาน (Functional Strategy)
-
Workshop 2 : ฝึกปฏิบัติกำหนด FunctionalStrategy
ส่วนที่ 3 : การผ่องถ่ายกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ ด้วยแผนปฏิบัติงาน (Strategic Cascade)
-
การผ่องถ่ายตัวชี้วัดระดับองค์กร (Corporate KPIs) และกลยุทธ์องค์กร (Company Strategy) สู่การปฏิบัติด้วย Balance Scorecard
-
แนวทางการกำหนดวัตถุประสงค์กลยุทธ์ (Strategic Objectives and Strategy Map) ให้เชื่อมโยงกับ Corporate Strategic Objective และ Corporate KPIs
-
Workshop 3 : ฝึกปฏิบัติกำหนดวัตถุประสงค์กลยุทธ์ (Strategic Objective)
-
แนวทางการกำหนดตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Measures) เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Targets) ให้เชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์กลยุทธ์ฝ่ายงาน ด้วย Functional KPI
-
แนวทางการกำหนดกลยุทธ์ฝ่ายงาน หรือความคิดริเริ่มเชิงกลยุทธ์ (Functional Strategy / Strategic Initiatives)
-
Workshop 4 : ฝึกปฏิบัติกำหนดกำหนด Strategic Measures, Strategic Targets และFunctional Strategy / Strategic Initiatives
-
เทคนิคแปลงกลยุทธ์และ KPI สู่การปฏิบัติด้วยการจัดทำแผนปฏิบัติงาน (Action Plan)
-
หัวใจสำคัญของการจัดทำแผนปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ
ส่วนที่ 4 : การทบทวนและควบคุมกลยุทธ์ ด้วยการติดตามผลลัพธ์ของการดำเนินงาน (Strategic Control)
-
การทบทวนและควบคุมกลยุทธ์ ด้วยการติดตามผลลัพธ์ของการทำงาน (Strategic Control) ด้วย KPI Management Meeting
-
แนวทางการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน ด้วยการจัดทำบันทึกข้อตกลงผลสัมฤทธิ์ของงาน (Performance Agreement) ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์กลยุทธ์ ตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ และเป้าหมายเชิงกลยุทธ์
-
การควบคุม ติดตามงานจาก Performance Agreement ด้วย KPI
หลักสูตรนี้เหมาะสมสำหรับ :
ผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่าย ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่าย ผู้จัดการแผนก ผู้ช่วยผู้จัดการแผนก
รูปแบบ/วิธีการเรียนรู้ :
o การบรรยาย (Lecture) ในรูปแบบการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Learning) ที่มีการระดมความคิดแบบมีส่วนร่วมระหว่างฝึกอบรม (Participative Techniques) ช่วยให้ผู้เรียนรู้นำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้ทันที
o การทำกิจกรรมกลุ่ม (Workshop) เชิงปฏิบัติการ : ที่กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความเห็น (Discussion)เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
o การแชร์ประสบการณ์
o การระดมความคิด (Brain Strom) และการนำเสนอความคิดเห็น
o การตอบข้อซักถาม : เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจน และกระตุ้นผู้เรียนรู้ให้คิดตาม
วิทยากร : อาจารย์ ธนุเดช ธานี (อ.ต้น)
-
ที่ปรึกษาบริษัท เทสส์ เทรนนิ่ง จำกัด
-
วิทยากรและที่ปรึกษาผู้ชำนาญการพิเศษด้าน HR จากประสบการณ์ 31 ปี
-
วิทยากรพิเศษด้าน HRD ของ SGS ACADEMY
-
วิทยากรพิเศษด้าน HRD คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
-
อาจารย์พิเศษคณะบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A.) มหาวิทยาลัยภาครัฐ
-
อาจารย์พิเศษคณะรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต (M.P.A.) มหาวิทยาลัยเอกชน
-
อดีตกรรมการสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) 2 สมัย