Public Training เปิดรับสมัคร หลักสูตร “การลดต้นทุนและลดความสูญเปล่า 7 + 1 ประการในกระบวนการผลิต” (7 + 1 Wastes and Cost Reduction in Production Processing) อบรม 29 มีนาคม 2566
Public Training เปิดรับสมัคร หลักสูตร “การลดต้นทุนและลดความสูญเปล่า 7 + 1 ประการในกระบวนการผลิต” (7 + 1 Wastes and Cost Reduction in Production Processing) อบรม 29 มีนาคม 2566
สภาวะปัจจุบันที่มีการแข่งขันทางด้านธุรกิจกันอย่างรุ่นแรง ทั้งจากภายในและต่างประเทศ ทำให้สถานประกอบการต่าง ๆ ที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตต้องการปรับตัวเป็นอย่างมาก การสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งขันโดยการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า โดยการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูง(High Quality) ต้นทุนการผลิตที่ต่ำอย่างเหมาะสม (Low Cost) และส่งมอบสินค้าได้ตรงกำหนดเวลา (On Time Delivery) จึงมีความจำเป็นอย่างมาก
ด้วยเหตุนี้ การเพิ่มศักยภาพบริหารการผลิตจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยสร้างความได้เปรียบขององค์กร โดยนำแนวคิดการบริหารจัดการระบบ LEAN มาใช้เพื่อควบคุมการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ด้วยการลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต 7 + 1 ประการสำคัญที่มีอยู่ในองค์กร ได้แก่ ความสูญเสียจากการผลิตมากเกินไป (Over Production Waste) ความสูญเสียจากการขนส่ง (Transportation Waste) ความสูญเสียจากการรอคอย (Waiting Waste) ความสูญเสียจากสินค้าคงคลัง (Inventory Waste) ความสูญเสียจากผลิตภัณฑ์บกพร่อง (Defects Waste) ความสูญเสียจากการเคลื่อนไหว (Motion Waste) และ ความสูญเสียจากกระบวนการมากเกินไป (Over processing Waste) และความสูญเสียจากการขาดความคิดสร้างสรรค์และใช้คนที่ไม่เหมาะสมกับงาน (Non-Utilized Talent)
LEAN คือ ปรัชญาในการผลิต ที่ถือว่าความสูญเปล่าเป็นตัวทำให้เวลาที่ใช้ในการผลิตยาวนานขึ้น และควรที่จะมีการนำเทคนิคต่าง ๆมาใช้ในการกำจัดความสูญเปล่าเหล่านั้นออกไป การผลิตแบบ Lean คือ การใช้หลักการชุดหนึ่งในการระบุและกำจัดความสูญเปล่า เพื่อส่งมอบสินค้าที่ลูกค้าต้องการทันเวลาที่ต้องการ Lean คือ แนวทางที่จะพัฒนา จังหวะ (RHYTM), การไหล (FLOW) และ สมดุล (BALANCE) ในกระบวนการผลิตใด ๆ และสามารถนำระบบ LEAN มาใช้เพื่อลดความสูญเปล่าโดยมีจุดประสงค์ในการลดต้นทุนการผลิตและสามารถปฏิบัติได้จริง เพื่อพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานให้ดี มีประสิทธิภาพ มีต้นทุนที่ต่ำอย่างเหมาะสม สร้างศักยภาพในการแข่งขัน และทำให้องค์กรมีผลกำไรในการดำเนินธุรกิจได้เพิ่มขึ้น
วัตถุประสงค์
– เพื่อให้เข้าใจถึงเหตุผล และความสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการผลิต
– เพื่อทราบถึงความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตและแนวทางในการลดความสูญเปล่าเหล่านั้น
– เพื่อลดระยะเวลาการผลิตได้ตามที่ลูกค้าต้องการอย่างต่อเนื่อง
– เพื่อได้รู้ถึงเทคนิคการลดต้นทุนการผลิตในธุรกิจอุตสาหกรรมได้อย่างเหมาะสม
– เพื่อการวิเคราะห์เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตที่เป็นเลิศ (The Best Practice)
– เพื่อการปรับปรุงพัฒนากระบวนการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง
เนื้อหาของหลักสูตร
-
หลักการ LEAN (LEAN Principles)
-
การวิเคราะห์ผลิตภาพด้วยแผนภูมิสายธารแห่งคุณค่า (Value Stream Mapping)
-
การจัดสมดุลสายงาน (Line Balancing)
-
การผลิตอย่างต่อเนื่อง (Continuous Flow)
-
การลดความสูญเปล่า 7 + 1 ประการ (8 Wastes)
-
การทำงานอย่างเป็นมาตรฐาน (Standardized Works)
-
ระบบการผลิตแบบดึง (Pull System)
-
การปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิต (Single Minute Exchange of Dies : SMED)
-
การควบคุมคุณภาพด้วยหลักการ QC 7 Tools
-
Total Productive Maintenance (TPM)
-
ระบบการผลิตแบบทันเวลาพอดี (Just-in-Time)
-
กิจกรรม 5ส.
-
Kaizen (การปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง)
-
A3 form
-
Work Instruction
วิธีการสัมมนา การบรรยาย การให้คำปรึกษา ให้คำแนะนำ และถาม-ตอบ
กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหลัก ผู้จัดการโรงงาน/ ผู้บริหารระดับกลาง หรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร ฝ่ายผลิต ฝ่ายวางแผนการผลิต ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ ฝ่ายซ่อมบำรุง ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายคลังสินค้า วิศวกร
ระยะเวลา 1 วัน จำนวนวันละ 6 ชั่วโมง เวลา 9.00 – 16.00 น.
วิทยากร อนันต์ ดีโรจนวงศ์ ตำแหน่ง – ที่ปรึกษาอุตสาหกรรมด้าน Lean Production & Logistics กรม
ส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
– ที่ปรึกษาเครือข่าย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น
– ที่ปรึกษาอุตสาหกรรมและ Logistics & Supply Chain
Management สมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุน
– อาจารย์พิเศษ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์
มหาวิทยาลัยรามคำแหง, สถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น, ม.ศรี
ปทุม, ม.ธุรกิจบัณฑิต
– ที่ปรึกษาสถานประกอบการดีเด่นสาขาการจัดการโลจิสติกส์
โครงการ OPOAI กระทรวงอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2557