เปิดรับ สมัครอบรม หลักสูตร การบริหารทีมงานอย่างมีประสิทธิภาพ และลดข้อขัดแย้งในการทำงาน รุ่นที่ 3 (Effective Team Management and Conflict Management) : 4 เมษายน 2565
เปิดรับ สมัครอบรม หลักสูตร การบริหารทีมงานอย่างมีประสิทธิภาพ และลดข้อขัดแย้งในการทำงาน รุ่นที่ 3 (Effective Team Management and Conflict Management) : 4 เมษายน 2565
การที่องค์กรจะเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนได้ บุคลากรในองค์กรทุกฝ่ายงานต้องร่วมกันทำงานเป็นทีมมีการสื่อสารประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพทั้ง Soft Skill และ Hard Skill แต่ในการชีวิตทำงานจริงงานอาจไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เนื่องมาจากความขัดแย้งในการทำงานอันมีจากหลากสาเหตุ หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงทีหรือปล่อยเวลาให้เนินนานไป อาจส่งผลกระทบต่อองค์กรหลายประการ อาทิเช่น นำไปสู่ความตึงเครียด ทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรและเวลามากขึ้น ทำให้เกิดการแบ่งเป็นพรรคเป็นพวก มุ่งเอาชนะกันมากกว่าที่จะมองเป้าหมายขององค์กรโดยรวม ทำลายประสิทธิผลขององค์กร เป็นต้น
สถาบันฯ ได้ออกแบบและพัฒนาหลักสูตรขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้นำในองค์กรของท่านสามารถบริหารทีม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการเรียนรู้ที่ “กระชับ เข้าใจง่าย และใช้ได้จริง” เพื่อความสำเร็จในการทำงานและความผูกพันของพนักงานและองค์กรของท่าน
วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ : เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม
-
เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจในหลักการ แนวคิดในการบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพและลดข้อขัดแย้งในการทำงาน
-
สามารถออกแบบวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพและลดข้อขัดแย้งในการทำงาน
-
สามารถวิเคราะห์บุคลิกลักษณะคนในการทำงานเป็นทีมอย่างมีประสิทธิภาพและลดข้อขัดแย้งในการทำงาน
-
เสริมสร้างเทคนิคการสื่อสาร “เปิดใจก่อนเปิดปาก” ในการลดข้อขัดแย้งในการทำงาน
-
สามารถแก้ไขปัญหาการประสานงานระหว่างหน่วยงานและลดข้อขัดแย้งในการทำงานด้วย MOU
-
สามารถออกแบบงาน (Job Design) ในการสร้างความชัดเจนของหน่วยงานด้วย Function Matrix อย่างเป็นระบบในการลดความขัดแย้งในการทำงานอย่างมืออาชีพ
หัวข้อสำคัญของการเรียนรู้ :
ส่วนที่ 1 : “เข้าใจ -> เข้าถึง -> พัฒนา” เคล็ดวิชาการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
-
3 เรื่องที่ต้องเข้าใจในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
-
3 เรื่องที่ต้องเข้าถึงในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
-
3 เรื่องที่ต้องพัฒนาในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ส่วนที่ 2 : เทคนิคการรวมพลังสู่ความสำเร็จของเป้าหมายร่วมกัน ด้วย “Engagement Team”
-
ความสำคัญและความหมายของทีมกับ KPI
-
การสร้างความผูกพันในองค์กรด้วยตนเอง (Engagement Management System)
-
8 องค์ประกอบของการทำงานเป็นทีมให้บรรลุเป้าหมาย
-
7 แนวร่วมในการทำงานเป็นทีมงานที่มีประสิทธิภาพ
-
Workshop 1 : ฝึกปฏิบัติออกแบบวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมแบบ Do & Don’t
ส่วนที่ 3 : “งาน” หรือ “คน” จุดเริ่มต้นของปัญหาข้อขัดแย้งในการทำงาน (The Beginning of Conflicts in Work)
-
“งาน” หรือ “คน” จุดเริ่มต้นของปัญหาความขัดแย้งในการทำงาน
-
แนวทางการวิเคราะห์บุคลิกลักษณะคน เพื่อมองคนให้ออก บอกคนให้ได้ และประสานงานคนให้เป็น
-
Workshop 2 : ฝึกวิเคราะห์กำหนดแนวทางการทำงานร่วมกับคนแต่ละสไตล์
ส่วนที่ 4 : “เปิดใจก่อนเปิดปาก” เทคนิคการสื่อสารที่ลดข้อขัดแย้งในการทำงานอย่างได้ผล (Communication Tricks)
-
กำแพงความคิดที่ปิดกั้นใจคนในองค์กร
-
แนวทางในการสื่อสารแบบเปิดใจก่อนเปิดปาก
-
แนวทางการสื่อสารด้วยประตูใจ เพื่อลดข้อขัดแย้งในการทำงาน (Positive Communication)
-
5 คำพูดพื้นฐานในการทำงานร่วมกับผู้อื่นให้ประสบความความสำเร็จ
-
Workshop 3 : ฝึกปฏิบัติถอดรหัสใจ เพื่อแก้ไขความขัดแย้งในการทำงาน
ส่วนที่ 5 : เทคนิคในการสื่อสารแบบข้ามสายงาน ในการแก้ไขความขัดแย้งและหาทางออกอย่างมืออาชีพ (Cross Functional Alignment)
-
แนวทางการสื่อสารทลายกำแพงคิดที่ปิดกั้นใจคนแบบ Cross Functional
-
กฎเหล็กในการสื่อสาร : เพื่อนมาสู่-ข่มขู่หรือขอร้อง-ต้องหมวก 2 สี-มี MOU
-
ตัวอย่างแบบฟอร์มในการทำ MOU การสื่อสารประสานงานข้ามสายงาน
-
Workshop 4 : ฝึกปฏิบัติจัดทำ MOU ในการประสานงานและแก้ไขความขัดแย้งอย่างมืออาชีพ (Cross Functional)
ส่วนที่ 6 : เทคนิคการลดข้อขัดแย้งในการทำงานอย่างมืออาชีพ ด้วยการออกแบบงาน (Job Design) ของหน่วยงานให้ชัดเจนด้วย Function Matrix
-
การออกแบบงาน (Job Design) ของหน่วยงานให้ชัดเจนด้วย Function Matrix
-
ตัวอย่าง Function Matrix ในการกำหนด Job ของหน่วยงาน
-
4 วิธีในการกำหนด Key Job ของหน่วยงาน
-
Workshop 5 : ฝึกปฏิบัติจัดทำ Job ของหน่วยงาน (Function Matrix) ในการสร้างความชัดเจนและลดข้อขัดแย้งในการทำงาน
หลักสูตรนี้เหมาะสมสำหรับ :
ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการฝ่าย ผู้จัดการแผนก หัวหน้าแผนก หัวหน้างาน เจ้าหน้าที่ และผู้สนใจทั่วไป
รูปแบบ/วิธีการในการเรียนรู้ :
o การบรรยาย (Lecture) ผ่าน Zoom ในรูปแบบการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ (Adult Center)
o การทำกิจกรรมกลุ่ม (Workshop): ที่กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนความเห็น (Discussion)เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
o การระดมความคิด (Brainstroming) และการนำเสนอความคิดเห็น
o การตอบข้อซักถาม : เพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจน และกระตุ้นผู้เรียนรู้ให้คิดตาม
วิทยากร : อาจารย์ ธนุเดช ธานี (อ.ต้น)
- กรรมการผู้จัดการสถาบันฝึกอบรม People Develop Center
- วิทยากรและที่ปรึกษาผู้ชำนาญการพิเศษด้าน HR จากประสบการณ์ 32 ปี
- วิทยากรพิเศษด้าน HRD ของ SGS ACADEMY
- วิทยากรพิเศษด้าน HRD คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)
- อดีตกรรมการสมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย (PMAT) 2 สมัย
วันและเวลาอบรม
รุ่นที่ 3 วันที่ 4 เมษายน 2565 ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.